วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560


  การเสียสละ


ความเสียสละหมายถึงอะไร ตัวอย่างของการเสียสละ





      ในขณะที่โลกหมุนไปข้างหน้าอย่างรวมเร็ว แทบทุกอย่างในสังคมเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ว่าจะเป็น จำนวนผู้คน จำนวนประชากร จำนวนรถราบนท้องถนน จำนวนบ้านเรือน แต่สิ่งที่กลับน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดก็คือสิ่งที่เรียกว่า “เสียสละ” ของคนในสังคม การที่คนคนหนึ่งจะยอมเสียประโยชน์ของตนเพื่อเพื่อนมนุษย์ หรือเพื่อสัตว์โลกนั้นนับว่ายากมาก หรือแทบจะไม่มีโอกาสเลย

“ทางที่เหมาะอย่างหนึ่งก็โดยพยายามทำประโยชน์ เสียสละเพื่อผู้อื่นและส่วนรวมให้มากขึ้น การปฏิบัติงานด้วยความเสียสละอย่างนั้น ยิ่งกระทำมากเท่าใด จะช่วยให้เกิดความสามารถและความเชี่ยวชาญขึ้นเท่านั้น ทั้งเมื่อเคยชินกับการประพฤติปฏิบัติความดีแล้ว จะสามารถป้องกันความชั่วและความเสื่อมเสียทั้งปวงได้อย่างดีที่สุดด้วย ขอให้บัณฑิตทั้งปวงนำไปพิจารณาใคร่ครวญให้เห็นชัด เพื่อประโยชน์ในกาลภายหน้าของตนๆ” และนี่ก็คือ บทความที่ในหลวงท่านทรงพระราชทานแก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๒๔ เพื่อปลูกฝังและเป็นรากฐานของประเทศต่อไป

ความว่าเสียสละนั้นหากจะแปลความหมายได้ตรงตัวนั้นก็คือ การที่ยอมละทิ้ง หรือสละประโยชน์ที่เป็นของตนเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นต่อไป โดยยินยอมอย่างเต็มใจซึ่งอาจจะว่าได้ว่า คำว่า “เสียสละ” คำนี้มีความหมายในทิศทางเดียวกับคำว่า “ทาน” ตามหลักพระพุทธศาสนา สำหรับผู้ที่ยอมเสียสละสิ่งต่างต่างที่เป็นประโยชน์กับตนเอง เพื่อนำไปสร้างประโยชน์ให้กับผู้อื่นได้ นับว่าเป็นผู้ที่ประเสริฐยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการเสียสละอะไรก็ตามก็นับว่า “เสียสละ” โดยไม่ใช่จำเป็นจะต้องเป็นเรื่องเงิน เรื่องทอง เสมอไป

การที่นายทหารเสียสละเวลา เสียสละความสุขที่จะได้อยู่กับครอบครัว กับคนที่รักไปประจำการอยู่ตามชายแดนต่างไกลจากคนที่ตนรักนั้น หรือเพียงแม้แต่การสละเงินทองอันน้อยนิดเพื่อประโยชน์ต่อคนอื่น ต่อผู้ยากไร้ก็นับว่าเป็นการเสียสละเช่นกัน “เสียสละ”  หรือการให้ทานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเกิดขึ้นกับผู้มั่งคั่ง ผู้ร่ำรวยแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในสังคม ทุกโอกาส หากลองมาคิดภาพตามกันดูว่าหากทุกคนในสังคมยอมเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพียงคนละเล็กน้อย สังคมนั้นก็คงจะมีความสุข และอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบเรียบร้อย การที่คนรวยยอมเสียสละทรัพย์ช่วยเหลือคุณภาพชีวิตคนที่อัตคัดขัดสน การที่คนอัตคัดยอมเสียสละเวลาเพื่อเก็บกวาดถนนชุมชน หรือแม้กระทั่งการที่พระสงฆ์ หรือนักบวชยอมเสียสละเวลาศึกษาพระธรรมคำสอนเพื่อโปรดสัตว์โลก ถ่ายทอดความเป็นจริงของโลกให้ทุกคนรู้

กลับมามองที่จุดที่เล็กที่สุดของสังคม นั้นก็คือ “ครอบครัว” การปลูกฝังให้เด็กเล็กในครอบครัวของตนมีจิตใจที่เสียสละต่อผู้อื่นนั้น นับว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อการสร้างรากฐานที่ดีของสังคม ไม่ว่าจะเป็นการชวนเด็กเด็กไปทำบุญ ช่วยเหลือตามสถานที่ต่างๆ หรือแม้จะเป็นการสอนให้รู้จักการเสียสละ สิ่งเล็กๆน้อยๆอย่างขนม ของเล่นให้แก่เพื่อน เพียงเริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆเหล่านี้จะเป็นการปลูกฝังให้สังคมนั้นนั้นลดการเห็นแก่ตัวเห็นแก่ประโยชน์ของตน แล้วหันมามองประโยชน์ของเพื่อมนุษย์คนอื่น ดังเช่นที่พระบรมราชปณิธานของสมเด็จพระบรมราชชนกได้ดำรัชไว้ว่า

         
         ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นที่สอง  ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
    ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ตัวท่านเอง  ถ้าท่านทรงธรรมแห่งอาชีพ ไว้ให้บริสุทธิ์

                                  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น